ชิม ‘เชียงคํา’ ทีละคําสองคํา ตอนที่ 1

ทําความรู้จักพะเยา ผ่าน 12 เมนูของกิ๋นบ้านเฮาชื่อแปลก

ถ้าขอสามคําทีแทนความประทับใจในการไปเที่ยวจังหวัดพะเยา สําหรับฉันคงจะไม่ได้มีคําว่ากว๊านพะเยาอยู่ในนั้น เพราะสามคํานั้นมันต้องเป็น แอ๊บอ่องออ หน่อยัดไส้ แกงกระด้าง!

ใช่แล้วค่ะ นั่นคือบางส่วนของอาหารท้องถิ่นชื่อแปลกที่ฉันได้ชิมจากการไปเที่ยวพะเยาครั้งแรกในชีวิต โดยหมุดหมายที่เลือกไปพักคือ อ.เชียงคํา อําเภอที่ถือว่าดังเปนอันดับสองของ จ.พะเยา เหตุผลส่วนตัวก็คือแฟนของฉันมีบ้านเกิดอยู่ที่อําเภอนี้ มาเที่ยวทั้งทีเลยถือโอกาสทําความรู้จักพะเยาแบบอินไซต์ ผ่านอาหารถิ่นที่คนเชียงคําเขากินกันจริงๆ ว่าแล้วก็ตั้งเป้าหมายแน่วแน่ว่าจะตามแม่สามีไปเดินตลาดทุกวัน ตลาดเช้าบ้าง ตลาดเย็นบ้าง ถ้าเจออาหารหน้าตาไม่คุ้นหรือชื่อแปลกๆ จะซื้อมาลองกินให้หมด!

เดินหาอาหารไทลื้อชื่อไม่คุ้น ที่กาดบ้านธาตุสบแวน

ความพิเศษของเชียงคํา คือเป็นอําเภอที่ชาวไทลื้อหรือชาวสิบสองปันนาอพยพมาตั้งหลักแหล่งมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 1 โดยชาวชุมชนไทลื้อในเชียงคําได้อาศัยอยู่แถวบ้านหย่วนแห่งนี้และมีวัดพระธาตุสบแวนเป็นศูนย์รวมจิตใจ ดังนั้น ตลาดสดยามเย็นที่ตั้งอยู่ใกล้วัดพระธาตุสบแวนก็เลยเป็นแหล่งที่ยังมีอาหารไทลื้อแบบปรุงสําเร็จขายปะปนอยู่กับของกิ๋นจาวเหนือสไตล์คนเชียงคํา และที่สําคัญ แต่ละเมนูราคาเป็นมิตรมากๆ อยู่ที่ราวๆ ซาวบาท (หรือ 20 บาทถ้วน) เท่านั้นเอง

หลังจากสนุกกับการอ่านและถามชื่อเมนูแปลกๆ เราก็คัดเลือกที่ชอบใจและชอบชื่อจากตลาดไทลื้อมาได้ 5 เมนูถ้วน เลยจัดแจงให้แม่ค้าจัดใส่ใบตองห่อกลับมาใส่จานกินที่บ้าน .
เอาล่ะ ลองไปชิมกันว่ามันคืออะไร รสชาติเป็นยังไง แล้วชาวกรุงลูกคนจีนอย่างเราจะสู้ไหวหรือเปล่า

เมนูที่ 1 – แอ๊บอ่องออ

เมนูนี้เลือกมาชิมเพราะชื่อมันดูน่ารักบ้องแบ๊ว แต่ชีวิตจริงไม่แบ๊วอย่างชื่อ นิยามคําว่า ‘แอ๊บ’ ของคนเหนือ หมายถึงการเอาอาหารมาปรุงแล้วห่อใบตอง ก่อนจะนําไปปิ้งจนสุก พูดง่ายๆ ก็คืออาหารสไตล์ห่อหมก ตอนเดินตลาดที่นี่เราเจออาหารที่นําหน้าว่าแอ๊บเต็ม
ไปหมดไม่ว่าจะเป็น แอ๊บปลานิล แอ๊บปลาดุก แอ๊บข้าวโพด แต่ที่พีกที่สุดคือแอ๊บอ่องออ เพราะมันคือแอ๊บที่ทำจากสมองหมู! จะชิมละนะ…อํ้า!

คนที่คิดจะกินแอ๊บอ่องออ ด่านแรกที่ต้องผ่านไปให้ได้คือกลิ่นที่ค่อนข้างเฉพาะตัว เดาว่าน่าจะเป็นกลิ่นของสมองหมู แม้ว่าจะไม่ได้แรงขนาดที่โชยออกมาเตะจมูก แต่พอกินเข้าไปก็จะได้กลิ่นค่อนข้างชัดเจน แต่ถ้าคุณเป็นคนที่กินของขมอย่างพวกดีปลา ดีวัวได้อยู่แล้วก็น่าจะสบายมาก ซึ่งถ้าผ่านความยากไปได้แล้วก็จะได้เพลิดเพลินกับความอร่อยของมันที่ชาวบ้านที่นี่เขาชอบกัน นั่นก็คือรสชาติมันๆ ผสมความนัวจากเครื่องเทศ กินจิ้มกับข้าวเหนียวร้อนๆ ชาวบ้านเขาบอกว่าลําขนาด!

สําหรับเรา ยอมรับว่าไม่ถนัดแนวนี้มาก แต่มาถึงที่นี่แล้วก็ต้องลองให้รู้จักและเข้าใจ ให้คะแนนความแปลกและหาทานยากไปเลยห้าดาว

เมนูที่ 2 – นํ้าพริกนํ้าหน่อ

นํ้าพริกนํ้าหน่อ คือเมนูนํ้าพริกพื้นบ้านเมืองเหนือที่หาทานได้ยากแล้ว จะยังหลงเหลืออยู่ในสังคมที่ยังมีความเป็นชนบท จึงถือว่าโชคดีมากที่เราได้เจอและได้ชิม

ส่วนผสมหลักทําจากหน่อไม้ไผ่รวกดิบอ่อน (ซึ่งมีแค่ตอนหน้าฝนที่เราไปพอดี) เอาไปต้มแล้วขูดก่อนจะเอามาดองจนเกิดรสเปรี้ยว แล้วเคี่ยวกับพริกกระเทียมให้งวดจนกลายเป็นนํ้าพริกสีขาวๆ ที่มีเท็กซ์เจอร์ค่อนไปทางแห้งๆ สไตล์ขลุกขลิก

ลองชิมแล้วรสชาติหนักไปทางเปรี้ยว เท็กซ์เจอร์หน่อไม้ดองมีความกรอบนิดๆ ซึ่งมีข้อดีคือพอเอาไปเคี่ยวแล้วก็แทบไม่เหลือกลิ่นดอง กลายเป็นความหอมหน่อยๆ แทน กินกับผักต้มหรือปลาเผาเราว่าเลิศ!

เมนูที่ 3 – นํ้าพริกนํ้าผัก

อีกหนึ่งนํ้าพริกทีเด็ดหากินยากที่ต่อยอดมาจาก ‘นํ้าผัก’ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารของชาวไทลื้อ โดยนํ้าผักนั้นเป็นการเอาผักสวนครัวหลายๆ อย่าง (ส่วนใหญ่เป็นผักกาดจ้อน ผักกาดเขียวปลี) มาสับหรือตําให้ละเอียดเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนจะเอามาดองด้วยนํ้า เกลือ และข้าวเหนียวเล็กน้อยจนได้ความเปรี้ยวที่ชอบ เอามากรองแล้วเคี่ยวไฟจนงวดแห้งจนคล้ายกากสีเขียวคลํ้า เก็บไว้ได้หลายเดือน เอามาโขลกกับพริกแห้ง เกลือ กระเทียม และมะแขว่น กลายเป็นนํ้าพริกนํ้าผักเอาไว้กินกับข้าวเหนียว ซึ่งพอชิมแล้วก็ยอมรับว่าเปรี้ยวกว่านํ้าพริกนํ้าหน่อซะอีก ถ้าไม่ใช่สายถนัดเปรี้ยวก็ไม่ควรกินเพียวๆ เลยล่ะ

เมนูที่ 4 – น้ำพริกเห็ดด่าน
.
เห็ดด่าน หรือที่บางคนเรียกว่าเห็ดหล่ม เป็นเห็ดท้องถิ่น ทางภาคเหนือที่เก็บได้เฉพาะในฤดูฝน (โชคดีอีกแล้วเรา) เอามาจี่กับไฟแล้วหอมฉุย ปรุงอาหารได้หลายอย่าง แต่ที่นิยมกันมาก็คือเอามาทํานํ้าพริก โขลกกับพริกย่าง กะปิ หอมแดง กระเทียม หอมสุดๆ
.
ชิมแล้วขอให้คะแนนความอร่อยและกินง่ายไปเต็มร้อย เพราะรสชาติของนํ้าพริกเห็ดด่านที่ค่อนไปคล้ายๆ กับนํ้าพริกหนุ่ม อาหารเหนือที่เราคุ้นเคย (ส่วนผสมน่าจะคล้ายกัน) แต่เบิ้ลความอร่อยด้วยรสอูมามิของเห็ดที่เอาไปปิ้งหรือจี่กับไฟ ถือเป็นอาหารประจําฤดูฝนที่ลําขนาด!

เมนูที่ 5 – คั่วหน่อ

ตอนแรกก็เกือบจะเดินผ่านร้านนี้ไปมือเปล่า แต่พอได้ยินเสียงคุณป้ากําลังผัดๆ คั่วๆ และกลิ่นหอมอะไรไม่รู้ที่โชยมาจากเตา ก็ทําให้เราถอยกลับไปซื้อจนได้ ป้าบอกว่ากําลังคั่วหน่อไม้อยู่ ใกล้เสร็จแล้ว งั้นหนูขอห่อกลับเลยค่ะ เห็นหน้าตาคล้ายๆ ผัดหน่อไม้ตามร้านข้าวราดแกงในกรุงเทพฯ แต่คุณแม่สามีบอกว่า ไม่เหมือนจ้ะ เมนูนี้ก็อาหารพื้นเมืองเหมือนกันเจ้า

พอได้ชิมแล้วก็เข้าใจว่ามันไม่เป็นเหมือนที่คิดจริงๆ แถมชอบกว่าด้วย เพราะมันเป็นการหน่อไม้ส้ม (ดอง) มาผัดเคี่ยวกับเครื่องแกงและหมูสับหรือหมูสามชั้น ไม่ได้เน้นรสเผ็ดจัดจ้านเหมือนตามร้านข้าวแกง แต่เน้นความหอม นัว กลมกล่อม และกินง่าย ถ้าเมนูอื่นๆ มันแปลกหรือกินยากไป แนะนําให้จานนี้เป็นคอมฟอร์ตฟู้ดประจํามื้อได้เลย 

ผ่านมาแล้ว 5 เมนูชื่อแปลกของพะเยา เพื่อนๆ คนไหนคุ้นชื่อหรือเคยกินบ้างไหมคะ แอดขอชวนมาบอกต่อความอร่อยของเมนูเหล่านี้กัน

สำหรับตอนต่อไป จะมีเมนูชื่อแปลกอะไรบ้าง ติดตามกันได้ในวันเสาร์หน้านะคะ

Scroll to Top
Send this to a friend